เอกลักษณ์ความน่าตื่นตาตื่นใจในครั้งแรกของการได้มาเที่ยวในต่างบ้านต่างเมือง สิ่งหนึ่งที่ทำให้เราร้องว้าวได้เสมอ คือ วัฒนธรรมท้องถิ่น และ วิธีชีวิตของคนในพื้นที่นั้นๆ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมส่วนใหญ่ก็เลยเน้นไปที่การเดินชมเมือง นั้นเอง สำหรับจังหวัดกระบี่เอง ก็มีเรื่องรางของร่องรอยทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นตั้งแต่ยุคอดีตโบราณ จนถึงปัจจุบันเช่นเดียวกัน
พระอารามหลวง คือ สถานที่ทางศาสนาที่สำคัญของพุทธศาสนา ซึ่งในจังหวัดกระบี่เอง วัดที่ถือว่าเป็นพระอารามหลวง มีอยู่ 2 ที่ ได้แก่
1.1 วัดแก้วโกรวาราม พระอารามหลวง ตั้งอยู่กลางเมืองจังหวัดกระบี่ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี และเป็นวัดประจำจังหวัด มีความสำคัญ ทั้งด้านความเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ศูนย์กลางการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี และแผนกปริยัติสามัญของคณะสงฆ์จังหวัดกระบี่
1.2 วัดมหาธาตุวชิรมงคล (วัดบางโทง) ตั้งอยู่ที่บ้านบางโทง ต. นาเหนือ อ. อ่าวลึก จ. กระบี่ เดิมวัดแห่งนี้ชาวบ้านเรียกว่า “วัดบางโทง” และในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2549 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามวัดบางโทงให้ใหม่ เป็น “วัดมหาธาตุวชิรมงคล” พร้อมทั้งให้อัญเชิญพระนามาภิไธยย่อ “ม.ว.ก.” ขึ้นประดิษฐานที่หน้าบันพระอุโบสถ ขณะที่พระพุทธปฏิมาประจำพระชนมวาร ให้ใช้พระนามว่า “พระพุทธทักษิณชัยมงคล” “พระมหาธาตุเจดีย์” ที่ได้รับอิทธิพลมาจากมหาเจดีย์พุทธคยา สถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ในเมืองคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ตั้งตระหง่าน
ลูกปัดอันดามัน ถือ เป็นของโบราณที่มีประวัติยาวนานกว่า 40,000 ปี ที่ขุดพบในบริเวณฝั่งอันดามัน ซึ่งลูกปัดในปัจจุบันอาจจะดูเหมือนของตกแต่งร่างกาย แต่ในอดีตลูกปัดมีอิทธิพลในด้านความเชื่อ หรือ เป็นเครื่องรางของขลังของคนยุคก่อนอีกด้วย ซึ่งที่มาของลูกปัดนั้นก็เกิดจากของแข็งอย่าง กระดูกสัตว์ เปลือกหอย เขา งา ปะการัง เขี้ยว และ ฟัน คนในสมัยโบราณได้นำวัตถุดิบเหล่านั้นมาขัด ฝน จากนั้นจึงเจาะรูเพื่อร้อยทำเป็นเครื่องประดับ จนต่อมาได้มีการพัฒนาวัตถุดิบเป็นหินสีต่างๆ และในยุคเหล็ก ยุคสำริด ได้มีการหลอมโลหะมาทำเป็นลูกปัด
มากไปกว่าความสวยงามของภูเขาทั้ง 2 ลูก ที่ตั้งตะหง่านอยู่กลางแม่น้ำหน้าเมืองกระบี่ ได้มีการขุดค้นพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2542 พบร่องรอยการใช้ชีวิตของคนยุคโบราณ อย่าง ฟันสัตว์ เขี้ยวสัตว์ เศษถ่าน เศษภาชนะดินเผา ประเภทหม้อสามขา และ กระดูกขามนุษย์ เป็นต้น
ถือเป็นชุมชนกลางน้ำ อยู่ห่างจากเมืองกระบี่เพียงเล็กน้อย แต่เต็มเปี่ยมไปด้วยความเรียบง่าย และ วิถีชีวิตดั้งเดิม ทั้งการทำประมงหาปลา การทำเกษตร ปลุกข้าว ซึ่งประชากรบนเกาะเกือบจะทั้งหมดเป็นชาวมุสลิมดั้งเดิม มีศูนย์การเรียนรู้มากมาย เช่น การผลิตเรือหัวโทงจำลอง การผลิตผ้าปาเต๊ะแบบโบราณ กลุ่มอนุรักษป์่าชายเลน กลุ่มวิสาหกิจเลั้ยงผึ้งโพรง และ กลุ่มชาวนาผลิตข้าวสังห์หยดอินทรีย์
ถือเป็นชุมชนเมืองเก่าที่ยังไม่ได้โด่งดังมากนักในหมู่นักท่องเที่ยว แต่ด้วยกาลเวลาที่ผ่านไป สถาปัตยกรรมบ้านไม้โบราณ ที่มีอายุกว่า 100 ปี บวกกับวิถีชีวิตริมทะเลที่ยังคงไว้อย่างดั้งเดิม เริ่มหายากขึ้นมากๆในเมืองที่กำลังพัฒนา แต่สำหรับนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวหลากหลายสไตล์ การมาเยือนเกาะลันตาที่มีโรงแรมระดับ 5 มากมาย และการได้มาเยี่ยมชม ทานอาหารทะเล ในย่านเมืองเก่า ก็ถือเป็นเรื่องที่ไม่เลวเลยล่ะ
Share this tour